แค่ชื่อหัวข้อก็อาจจะดูเป็นพิธีกรรมที่น่ากลัวไปสักหน่อย เพราะเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ "ศพ"แต่เมื่อเห็นคำว่า "บาหลี" หลายคนก็คงรู้จักเกาะบาหลีของประเทศอินโดนิเซียเป็นอย่างดี เพราะจัดได้ว่าเป็นหมู่เกาะหนึ่งที่สวยงาม รวมถึงเป็นแหล่งรวบรวมวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจและสวยงามของประเทศอินโดนิเซียและดินแดนอุษาคเนย์ของเราด้วย ประเพณีการทำศพ หรือพิธีกรรมแห่ศพของชาวบาหลีน้นก็เป็นปะเพณีหนึ่งที่สำคัญของชาวบาหลี ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบมาก ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้น ๆ แต่ไม่น่าเชื่อว่าพิธีกรรมแห่ศพซึ่งน่าจะสร้างความโศกเศร้าหรือเป็นงานส่วนบุคคลเฉพาะญาติพี่น้อง แต่กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว ราวกับงานเฉลิมฉลองเลยทีเดียว
พิธีกรรมเกี่ยวกับศพของชาวบาหลีนั้นมีความสัมพันธ์มายาวนานในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะมักจะมีชาวตะวันตกเยอะมากที่เข้ามาศึกษาพิธีกรรมเหล่านี้ ซึ่งการรับรู้ส่วนใหญ่ของชาวตะวันตกส่วนมากต่อภาพลักษณ์ดั้งเดิมของบาหลีเป็นใน "แบบฉบับ" (Stereotype) ของวัฒนธรรมแบบอินเดีย ดังนั้นการบรรยายถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของพิธีสะตี(การเผาแม่ม่าย) ในบาหลี บันทึกของบริษัทดัตอีสต์อินเดีย ซึ่งดัตช์ทำสญญากับผู้ปกครองบาหลีในเรื่องการค้าทาส และมีการตั้งสถานีการค้าบนเกาะด้วย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างดัตซ์กับชาวบาหลีไม่สู้จะดีนัก ชาวบาหลีรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามอิสรภาพ
ประเพณีฮินดูของชาวบาหลีเช่นการเผาแม่ม่ายกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจอย่างต่อเนื่องจากชาวยุโรป และยังเป็นแนวคิดสำคัญที่แพร่หลายจนกระทั้งถึงต้นศตวรรษที่ 20 แม้ว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพที่มาจากอินเดีย และถูกใช้เป็นภาพประกอบบันทึกในยุคแรกเกี่ยวกับบาหลีก็ตาม ในขณะที่การเขียนบรรยายถึงพิธีสะตีในบาหลีนั้นจะแตกต่่างจากภาพประกอบในยุคแรก ๆ คือ พิธีกรรมเผาตัวเองของราชินีบาหลีและการสังเวยชีวิตของทาสหญิงอีก 22 คน ในปีพ.ศ.1633 ตามด้วยพิธีกรรมที่ข้าทาสผู้ซึ่งสามารถสวมชุดขาวเตรียมตัวสำหรับการประหารด้วยกริซ ซึ่งคนที่เขียนเรื่องราวพวกนี้ส่วนมากมักจะกล่าวถึงในแง่ที่เปรอะเปื้อนไปด้วยเลือดของพิธีกรรม และบรรยายถึงความกล้าหาญของหญิงสาวที่เชือดตัวเองด้วยกริซ ซึ่งพิธีกรรมนี้นิ่งเพิ่มความน่าตื่นตาตื่นใจของบาหลีมากขึ้นไปอีก
ส่วนภาพลักษณ์ในด้านลบของบาหลียังถูกตอกย้ำจากการที่ชาวบาหลียึดมั่นในศาสนาฮินดูและไม่ยอมรับ "ความปรารถนาดี" ของหมอสอนศาสนา นำมาซึ่งความไม่พอใจมาสู่พวกหมอสอนศาสนา นอกจากนี้งานของ J.H.Moor บรรณาธิการ Malacca Observer and Singapore Chronocle ที่มีบทล้อเลียนและดูถูกชาวเกาะ โดยมีทัศนะว่าชาวบาหลีผิดที่ไม่ให้ความเคารพคนยุโรป วาระซ่อนเร้นของ Moor ที่เผยให้เห็นคือ ยุโรปเข้าไปแทรกแซงบาหลีก็เพื่อจะสอนมารยาทให้ชนพื้นเมือง และทำให้พวกเขาว่านอนสอนง่ายตามความต้องการของบรรดาหมอสอนศาสนาและพ่อค้า การที่อังกฤษมีบทบาทกับการค้าบาหลีมากขึ้นในทศวรรษที่ 1820 และ 1830 นำมาซึ่งความกลัวของดัชต์ต่อการขยายอิทธิพลมาสู่บาหลีของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ความทุกข์ร้อนของดัตช์ยิ่งทวีขึ้นอีกเมื่อพ่อค้ายุโรปที่ประสบความสำเร็จที่สุด ในการค้ากับบาหลีคือชาวเดนมาร์ก นามว่า Mads Johansen Lange(1806-1856) ดัตซ์จึงต้องการพิชิตเกาะบาหลี ภาพลักษณ์การชวนทะเลาะกับผู้ปกครองบาหลีจึงถูกขยายมากขึ้น การพิชิตบาหลีของดัตซ์เริ่มขึ้นในปี 1846 แต่ก็ยังไม่สำเร็จในช่วงการทำสงคราม รายงานของดัตซ์มักจะเขียนให้ผู้ปกครองชาวพื้นเมือง เป็นพวกป่าเถื่อนและหลอกลวง และเขียนถึงอุปนิสัยของชาวบาหลีที่ชอบทะเลาะอาละวาด สงครามครั้งสุดท้ายสิ้นสุดลงในปี 1906-1908 เมื่อราชสำนักของชาวบาหลีต่อสู้แบบยอมตายซึ่งเรียก วีรกรรมที่กล้าหาญนี้ว่า "ปูปูตัน" (Puputan) มากกว่าที่จะยอมรับอำนาจของเจ้าอาณานิคม
ในวีรกรรมปูปูตันนั้น บรรดาคนในราชสำนักจะสวมเครื่องแต่งกายเต็มยศ แล้วเดินอย่างกล้าหาญเข้าไปเผชิญกับศัตรูแบบพร้อมตายมากกว่าต้องการมีชีวิตอยู่ กัปตันW.Cool ผู้เห็นเหตุการณ์ ได้บรรยายถึงสถานการณ์ที่น่าสะพรึ่งกลัว และยังให้ภาพที่เป็นจริงของการโต้ตอบของดัชซ์ "พวกนี้เป็นสมาชิกของราชวงศ์ที่เหลือพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ผุ้ชาย ผู้หญิง และเด็ก พวกเขาพร้อมที่จะตายและเดินแถวในชุดที่สง่างามประดับด้วยเพชรนิลจินดา ในมือถือกริซและหอกด้วยท่าเตรียมพร้อม พวกเขาเตรียมตัวด้วยความแข็งแกร่งพร้อมเผชิญหน้ากับทหารของเรา นี่คือปูปูตันที่เลื่องชื่อ !!! มหารของเราไม่ได้รับการระคายเคืองสักนิด ฝ่ายตรงข้ามถูกฆ่าตายดังใบไม้ร่วง มีเล็ดลอดเพียงไม่กี่คนที่สามารถเข้าประชิดดาบปลายปืนเราได้ แต่พวกนั้นก็ไม่ได้ถูกยิง พวกเราจัดการพวกนั้นด้วยสองมือของพวกเรา"
ปูปูตันมีความหมายว่า "อวสาน" เป็นสัญลักษณ์ประเพณีของการสิ้นสุดลงของอาณาจักร เชื่อกันว่าวิญญาณจะไปสู่สุขคติผ่านการตายในสนามรบ ดังนั้นจำเป็นสำหรับชนชั้นปกครองที่ต้องตายอย่างสมเกียรติ ดัตซ์เผชิญหน้ากับปูปูตันในการทำสงครามกับบาหลีและตกตะลึงต่อพิธีการฆ่าตัวตายนี้ ในสายตาของดัตซ์ปูปูตันถูกผนวกเข้าไปเป็นหนึ่งในภาพลักษณ์ความล้าหลังป่าเถื่อนของบาหลี อันประกอบไปด้วยเรื่องการค้าทาส การเผาแม่ม่าย และอุทิศชึวิตในสนามรบปูปูตันเกิดขึ้นอีกครั้งที่สองในเมือง Klungkung ในปี 1908 แทนที่จะยอมรับอำนาจต่างชาติ ราชวงศ์บาหลีเลือกที่จะตายอย่างมีเกียรติผ่านปูปูตัน อย่างไรก็ดีการที่ดัตซ์พยายามแสดงให้ว่าการเข้าครอบครองบาหลีเป็นเรื่องศีลธรรมของผู้มีอารยธรรมสูงส่งมาปลดปล่อยความล้าหลัง การพลีชีพของชาวบาหลีจึงกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ โดยดัตซ์อ้างว่าไม่คาดคิดมาก่อนว่าชาวบาหลีจะตอบโต้ด้วยวิธีการฆ่าตัวตายแบบนั้น และไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับปูปูตัน ดังนั้นเพื่อที่จะชดเชยการนองเลือดครั้งนั้นและแสดงถึงภาพลักษณ์ที่น่าสรรเสริญของเจ้าอาณานิคม ดัตช์จึงสนับสนุนแนวคิด "พิพิธภัณฑ์มีชีวิต" (Living Musuem) ในบาหลีขึ้น ภาพลักษณ์ใหม่นี้มีพื้นฐานอยู่บนการอนุรกษ์วัฒนธรรมของบาหลีและส่งเสริมเกาะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
พอย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ของพิธีกรรมเกี่ยวกับศพของชาวบาหลีก็จะเห็นได้ว่ามีเรื่องราวความเชื่อที่น่าสนใจแฝงอยู่ในอิทธิพลของศาสนาและสังคมของชาวลาหลี ต่อไปก็จะกล่าวถึงเรื่องความเชื่อในพิธีกรรมศพของชาวบาหลี รวมถึงความเชื่อในการทำพิธีศพของชาวอุษาคเนย์ ทัศนคติที่แตกต่างของชาวอุษาคเนย์กับชาวตะวันตกที่มีต่อความตายอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อประเพณีการจัดงานศพที่ใช้เวลาหลายวันทั้งผู้ร่วมงานแสดงความรื่นเริง สนุกต่อการละเล่น การแสดงที่มีเสียงดนตรีและเพลงหรือการแสดงที่เปิดเผยในเรื่องเพศ ใช้คำหยาบคายในการดื่มเหล้า หรืออาการไม่สำรวมโศกเศร้าร้องไห้ของญาติผู้ตาย ซึ่งอย่างในงานศพของชาวบาหลีและชวานั้น ที่มีความเชื่อในเรื่องงานศพต้องแสดงอาการดีใจ มิฉะนั้นวิญญาณจะหาหลุมศพไม่พบ(หากเป็นบ้านเราอาจจะรับไม่ได้หากในงานศพต้องแสดงท่าทีที่รื่นเริง) หรือการใช้คำหยาบคายในการละเล่นหรือมหรสพ ก็มักจะเป็นไปตามความเชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ เพราะในงานศพบรรพบุรุษจะต้องการให้เกิดการสืบทอดเผ่าพันธุ์ด้วยเสียงฆ้องหรือกลองที่ตีในพิธีศพ เป็นเสียงที่แสดงสัญลักษณ์การเปลี่ยนผ่านจากชีวิตไปสู่ความตาย จึงต้องตีให้ดังเพื่อให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับผีง่ายขึ้น ซึ่งเราจะพบเสมอว่า การตี การเคาะเสียงดัง หรือการจุดพลุประทัด ก็เพื่อสื่อสารกับผีหรือเทพ ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน คลุมเครือ หรือช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่าน ที่มีความลึกลับแฝงอยู่ เช่น การตีกลองมโหระทึกในพิธีศพ หรือในทางสังคมของชนเผ่าต่าง ๆ ทางตอนใต้ของจีน (ที่เคยกล่าวไปแล้วในพิธีบูชากบ (ในกรณี weblogนี้ต้องติดตามในตอนหน้า) แต่ในกลุ่มชนที่ต้องการเน้นความสัมพันธ์ของผู้คนทั้งชุมชน การร้องไห้เสียงดัง อาจจะเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันถึงความคงอยู่ของความผูกพัน และความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างผู้ตายและญาติ ๆ ก็ได้
" ภาพขบวนศพบาหลีในปัจจุบัน เริ่มได้รับตะวันอิทธิพลจากตะวันตก โดยส่วนมากเมื่อมีงานศพก็จะแต่งชุดดำ เป็นภาพที่ผู้เขียนบังเอิญเก็บภาพได้ขณะที่ไปอยู่ที่เกาะบาหลีเมื่อ 7 ปีที่แล้ว"
พิธีกรรมเกี่ยวกับศพของชาวบาหลีนั้นมีความสัมพันธ์มายาวนานในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะมักจะมีชาวตะวันตกเยอะมากที่เข้ามาศึกษาพิธีกรรมเหล่านี้ ซึ่งการรับรู้ส่วนใหญ่ของชาวตะวันตกส่วนมากต่อภาพลักษณ์ดั้งเดิมของบาหลีเป็นใน "แบบฉบับ" (Stereotype) ของวัฒนธรรมแบบอินเดีย ดังนั้นการบรรยายถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของพิธีสะตี(การเผาแม่ม่าย) ในบาหลี บันทึกของบริษัทดัตอีสต์อินเดีย ซึ่งดัตช์ทำสญญากับผู้ปกครองบาหลีในเรื่องการค้าทาส และมีการตั้งสถานีการค้าบนเกาะด้วย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างดัตซ์กับชาวบาหลีไม่สู้จะดีนัก ชาวบาหลีรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามอิสรภาพ
ประเพณีฮินดูของชาวบาหลีเช่นการเผาแม่ม่ายกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจอย่างต่อเนื่องจากชาวยุโรป และยังเป็นแนวคิดสำคัญที่แพร่หลายจนกระทั้งถึงต้นศตวรรษที่ 20 แม้ว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพที่มาจากอินเดีย และถูกใช้เป็นภาพประกอบบันทึกในยุคแรกเกี่ยวกับบาหลีก็ตาม ในขณะที่การเขียนบรรยายถึงพิธีสะตีในบาหลีนั้นจะแตกต่่างจากภาพประกอบในยุคแรก ๆ คือ พิธีกรรมเผาตัวเองของราชินีบาหลีและการสังเวยชีวิตของทาสหญิงอีก 22 คน ในปีพ.ศ.1633 ตามด้วยพิธีกรรมที่ข้าทาสผู้ซึ่งสามารถสวมชุดขาวเตรียมตัวสำหรับการประหารด้วยกริซ ซึ่งคนที่เขียนเรื่องราวพวกนี้ส่วนมากมักจะกล่าวถึงในแง่ที่เปรอะเปื้อนไปด้วยเลือดของพิธีกรรม และบรรยายถึงความกล้าหาญของหญิงสาวที่เชือดตัวเองด้วยกริซ ซึ่งพิธีกรรมนี้นิ่งเพิ่มความน่าตื่นตาตื่นใจของบาหลีมากขึ้นไปอีก
ส่วนภาพลักษณ์ในด้านลบของบาหลียังถูกตอกย้ำจากการที่ชาวบาหลียึดมั่นในศาสนาฮินดูและไม่ยอมรับ "ความปรารถนาดี" ของหมอสอนศาสนา นำมาซึ่งความไม่พอใจมาสู่พวกหมอสอนศาสนา นอกจากนี้งานของ J.H.Moor บรรณาธิการ Malacca Observer and Singapore Chronocle ที่มีบทล้อเลียนและดูถูกชาวเกาะ โดยมีทัศนะว่าชาวบาหลีผิดที่ไม่ให้ความเคารพคนยุโรป วาระซ่อนเร้นของ Moor ที่เผยให้เห็นคือ ยุโรปเข้าไปแทรกแซงบาหลีก็เพื่อจะสอนมารยาทให้ชนพื้นเมือง และทำให้พวกเขาว่านอนสอนง่ายตามความต้องการของบรรดาหมอสอนศาสนาและพ่อค้า การที่อังกฤษมีบทบาทกับการค้าบาหลีมากขึ้นในทศวรรษที่ 1820 และ 1830 นำมาซึ่งความกลัวของดัชต์ต่อการขยายอิทธิพลมาสู่บาหลีของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ความทุกข์ร้อนของดัตช์ยิ่งทวีขึ้นอีกเมื่อพ่อค้ายุโรปที่ประสบความสำเร็จที่สุด ในการค้ากับบาหลีคือชาวเดนมาร์ก นามว่า Mads Johansen Lange(1806-1856) ดัตซ์จึงต้องการพิชิตเกาะบาหลี ภาพลักษณ์การชวนทะเลาะกับผู้ปกครองบาหลีจึงถูกขยายมากขึ้น การพิชิตบาหลีของดัตซ์เริ่มขึ้นในปี 1846 แต่ก็ยังไม่สำเร็จในช่วงการทำสงคราม รายงานของดัตซ์มักจะเขียนให้ผู้ปกครองชาวพื้นเมือง เป็นพวกป่าเถื่อนและหลอกลวง และเขียนถึงอุปนิสัยของชาวบาหลีที่ชอบทะเลาะอาละวาด สงครามครั้งสุดท้ายสิ้นสุดลงในปี 1906-1908 เมื่อราชสำนักของชาวบาหลีต่อสู้แบบยอมตายซึ่งเรียก วีรกรรมที่กล้าหาญนี้ว่า "ปูปูตัน" (Puputan) มากกว่าที่จะยอมรับอำนาจของเจ้าอาณานิคม
ในวีรกรรมปูปูตันนั้น บรรดาคนในราชสำนักจะสวมเครื่องแต่งกายเต็มยศ แล้วเดินอย่างกล้าหาญเข้าไปเผชิญกับศัตรูแบบพร้อมตายมากกว่าต้องการมีชีวิตอยู่ กัปตันW.Cool ผู้เห็นเหตุการณ์ ได้บรรยายถึงสถานการณ์ที่น่าสะพรึ่งกลัว และยังให้ภาพที่เป็นจริงของการโต้ตอบของดัชซ์ "พวกนี้เป็นสมาชิกของราชวงศ์ที่เหลือพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ผุ้ชาย ผู้หญิง และเด็ก พวกเขาพร้อมที่จะตายและเดินแถวในชุดที่สง่างามประดับด้วยเพชรนิลจินดา ในมือถือกริซและหอกด้วยท่าเตรียมพร้อม พวกเขาเตรียมตัวด้วยความแข็งแกร่งพร้อมเผชิญหน้ากับทหารของเรา นี่คือปูปูตันที่เลื่องชื่อ !!! มหารของเราไม่ได้รับการระคายเคืองสักนิด ฝ่ายตรงข้ามถูกฆ่าตายดังใบไม้ร่วง มีเล็ดลอดเพียงไม่กี่คนที่สามารถเข้าประชิดดาบปลายปืนเราได้ แต่พวกนั้นก็ไม่ได้ถูกยิง พวกเราจัดการพวกนั้นด้วยสองมือของพวกเรา"
ปูปูตันมีความหมายว่า "อวสาน" เป็นสัญลักษณ์ประเพณีของการสิ้นสุดลงของอาณาจักร เชื่อกันว่าวิญญาณจะไปสู่สุขคติผ่านการตายในสนามรบ ดังนั้นจำเป็นสำหรับชนชั้นปกครองที่ต้องตายอย่างสมเกียรติ ดัตซ์เผชิญหน้ากับปูปูตันในการทำสงครามกับบาหลีและตกตะลึงต่อพิธีการฆ่าตัวตายนี้ ในสายตาของดัตซ์ปูปูตันถูกผนวกเข้าไปเป็นหนึ่งในภาพลักษณ์ความล้าหลังป่าเถื่อนของบาหลี อันประกอบไปด้วยเรื่องการค้าทาส การเผาแม่ม่าย และอุทิศชึวิตในสนามรบปูปูตันเกิดขึ้นอีกครั้งที่สองในเมือง Klungkung ในปี 1908 แทนที่จะยอมรับอำนาจต่างชาติ ราชวงศ์บาหลีเลือกที่จะตายอย่างมีเกียรติผ่านปูปูตัน อย่างไรก็ดีการที่ดัตซ์พยายามแสดงให้ว่าการเข้าครอบครองบาหลีเป็นเรื่องศีลธรรมของผู้มีอารยธรรมสูงส่งมาปลดปล่อยความล้าหลัง การพลีชีพของชาวบาหลีจึงกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ โดยดัตซ์อ้างว่าไม่คาดคิดมาก่อนว่าชาวบาหลีจะตอบโต้ด้วยวิธีการฆ่าตัวตายแบบนั้น และไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับปูปูตัน ดังนั้นเพื่อที่จะชดเชยการนองเลือดครั้งนั้นและแสดงถึงภาพลักษณ์ที่น่าสรรเสริญของเจ้าอาณานิคม ดัตช์จึงสนับสนุนแนวคิด "พิพิธภัณฑ์มีชีวิต" (Living Musuem) ในบาหลีขึ้น ภาพลักษณ์ใหม่นี้มีพื้นฐานอยู่บนการอนุรกษ์วัฒนธรรมของบาหลีและส่งเสริมเกาะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
พอย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ของพิธีกรรมเกี่ยวกับศพของชาวบาหลีก็จะเห็นได้ว่ามีเรื่องราวความเชื่อที่น่าสนใจแฝงอยู่ในอิทธิพลของศาสนาและสังคมของชาวลาหลี ต่อไปก็จะกล่าวถึงเรื่องความเชื่อในพิธีกรรมศพของชาวบาหลี รวมถึงความเชื่อในการทำพิธีศพของชาวอุษาคเนย์ ทัศนคติที่แตกต่างของชาวอุษาคเนย์กับชาวตะวันตกที่มีต่อความตายอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อประเพณีการจัดงานศพที่ใช้เวลาหลายวันทั้งผู้ร่วมงานแสดงความรื่นเริง สนุกต่อการละเล่น การแสดงที่มีเสียงดนตรีและเพลงหรือการแสดงที่เปิดเผยในเรื่องเพศ ใช้คำหยาบคายในการดื่มเหล้า หรืออาการไม่สำรวมโศกเศร้าร้องไห้ของญาติผู้ตาย ซึ่งอย่างในงานศพของชาวบาหลีและชวานั้น ที่มีความเชื่อในเรื่องงานศพต้องแสดงอาการดีใจ มิฉะนั้นวิญญาณจะหาหลุมศพไม่พบ(หากเป็นบ้านเราอาจจะรับไม่ได้หากในงานศพต้องแสดงท่าทีที่รื่นเริง) หรือการใช้คำหยาบคายในการละเล่นหรือมหรสพ ก็มักจะเป็นไปตามความเชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ เพราะในงานศพบรรพบุรุษจะต้องการให้เกิดการสืบทอดเผ่าพันธุ์ด้วยเสียงฆ้องหรือกลองที่ตีในพิธีศพ เป็นเสียงที่แสดงสัญลักษณ์การเปลี่ยนผ่านจากชีวิตไปสู่ความตาย จึงต้องตีให้ดังเพื่อให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับผีง่ายขึ้น ซึ่งเราจะพบเสมอว่า การตี การเคาะเสียงดัง หรือการจุดพลุประทัด ก็เพื่อสื่อสารกับผีหรือเทพ ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน คลุมเครือ หรือช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่าน ที่มีความลึกลับแฝงอยู่ เช่น การตีกลองมโหระทึกในพิธีศพ หรือในทางสังคมของชนเผ่าต่าง ๆ ทางตอนใต้ของจีน (ที่เคยกล่าวไปแล้วในพิธีบูชากบ (ในกรณี weblogนี้ต้องติดตามในตอนหน้า) แต่ในกลุ่มชนที่ต้องการเน้นความสัมพันธ์ของผู้คนทั้งชุมชน การร้องไห้เสียงดัง อาจจะเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันถึงความคงอยู่ของความผูกพัน และความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างผู้ตายและญาติ ๆ ก็ได้
" ภาพขบวนศพบาหลีในปัจจุบัน เริ่มได้รับตะวันอิทธิพลจากตะวันตก โดยส่วนมากเมื่อมีงานศพก็จะแต่งชุดดำ เป็นภาพที่ผู้เขียนบังเอิญเก็บภาพได้ขณะที่ไปอยู่ที่เกาะบาหลีเมื่อ 7 ปีที่แล้ว"
นอกจากนี้ชาวบาหลีเองเมื่อมีคนในครอบครัวตายก็มักจะเก็บศพไว้ในบ้านเพื่อทำพิธีกรรมคล้าย ๆ กับบ้านเรา ที่เก็บศพไว้ในบ้านบ้าง หรือวัดบ้าง เก็บไว้ร้อยวัน เจ็ดวัน แล้วค่อยเผา จึงมักมีประเด็นคำถามเสมอเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็นของศพ ที่แม้ผู้ที่อยู่วัฒนธรรมตะวันตกที่มีสภาพแวดล้อมในภูมิอากาศที่หนาวเย็นกว่ายังนิยมจดการเรื่องศพให้เสร็จอย่างรวดเร็วที่สุดภายในหนึ่งวัน แต่ในอุษาคเนย์จะพบการเก็บศพไว้ในบ้าน รวมญาติมิตรสหายเป็นเวลานานหลายวัน ย่อมจะต้องมีกลิ่นเหม็นเน่าของศพจนไม่น่าจะทนอยู่ได้ แต่เหตุใดผู้คนแถบนี้จึงไม่สนใจเรื่องกลิ่นหรือความเน่าเหม็น
"ภาพขบวนศพใจกลางเมืองบาหลี เป็นภาพบางส่วนที่หลงเหลือจากการตัดมาจากวีดีโอ(ปัจจุบันไฟล์วีดีโอตายไปกบคอมเครื่องเก่าของผู้เขียน) ขบวนศพนี้จากการสอบถามเป็นศพของผู้มีฐานะทางสังคมในสังคมบาหลี(เป็นเจ้าของโรงแรมร่ำรวยมาก) และศพก็เก็บมานานแล้ว กำลังทำขวนแห่ศพเผื่อนำไปเผา"
ก็มีชาวตะวันตกตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นไว้ว่า สำหรับชาวบาหลีรวมถึงชาวอุษาคเนย์ทั้งหลายแล้ว มีทัศนคติในเรื่องกลิ่นของตนเอง เช่นความนิยมในอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า กะปิ หรือเหล้าพื้นเมือง เนื่องจากเห็นว่ามีรสชาติอร่อยกว่าของสดและเป็นของที่นิยมว่ามีคุณค่าในการประกอบอาหารหลักทั่วภูมิภาคนี้ กระบวนการทำให้เน่านั้นมีขั้นตอนที่คล้ายคลึงกับการเก็บศพ ดังนั้น กลิ่นที่ตะวันตกทนไม่ได้ จึงไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจของผู้คนแถบนี้ที่คุ้นเคยและชมชอบกับกลิ่นหมักดอง บูด เน่า ของอาหารและเครื่องดื่มที่จงใจทำให้เป็น
นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในภาพรวมของพิธีกรรมศพของชาวบาหลี และดินแดนอุษาคเนย์ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมศพคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ยังมีขบวนแห่ศพของชาวบาหลีที่น่าสนใจ ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่อลังกาล (ตามภาพประกอบ) ก็คือ มีขบวนคนหามโกศ ซึ่งจะมีการหามศพที่บรรจุในโกศ โดยมีทั้งของเซ่นไหว้ และสัตว์จำลองที่ทำขึ้น เช่น สัตว์ต่าง ๆ ในตำนานของชาวบาหลี ที่ทำขึ้นอย่างสวยงามใหญ่โต ใช้ในขบวนแห่ จนถึงเผาไปพร้อมกับศพอย่างอลังกาลงานสร้างเลยทีเดียว ซึ่งงานฌาปนกิจนี้ ไม่ใช่งานทุกข์โศกเวทนากันเลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เป็น tourist attraction อย่างหนึ่งไป เพราะผู้คนที่มาช่วยงาน ก็ถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งและเป็นการให้เกียรติผู้ชาย ญาติมิตรครอบครัวของผู้ตายไปในตัวด้วย
ที่น่าพิศวงอีกอย่างหนึ่งในเกาะบาหลีคือ ในเกาะเล็ก ๆ ของบาหลีนี้ ยังแบ่งเป็นหมู่บ้านต่าง ๆ กัน เทคโนโลยีชาวบ้านก็ต่างกัน ที่น่าสนใจคือหมู่บ้านตาบัว(Tabur) ริมทะเลสาป เชิงภูเขาคินตะมะนี(Kintamani) ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพการประมง ที่สำคัญคือ เวลาตายแล้วเขาจะไม่นำไปเผา แต่จะแบ่งสุสานเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับผู้ที่เคยแต่งงานแล้ว อีกส่วนสำหรับผู้บริสุทธิ์ สำหรับแห่งแรกจะให้ศพเน่าเปื่อยไปก่อนเหลือแต่กระดูกสีขาวเรียงราย แต่ส่วนหลังเก็บเป็นมัมมี่โดยใช้พืชชนิดหนึ่งรักษาให้ศพมีสภาพเหมือนเดิมตลอด น่าชื่นใจที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยในแถบเอเชียอาคเนย์แบบนี้ เราสามารถเดินทางไปชมได้ด้วยโดยเหมาะเรือไป(ถ้าไม่กลัวศพนะ)
จากที่ได้เห็นภาพรวมส่วนหนึ่งในการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับศพของชาวบาหลีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านเล็งเห็นก็คือภาพรวมของสังคมอุษาคเนย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสังคมอุษาคเนย์ในอดีตและสังคมดั้งเดิม มีโลกทรรศน์เกี่ยวกับความตายที่แตกต่างไปจากสังคมปัจจุบันอย่างมากที่จะเข้าใจ เหตุผลบางประการหนึ่ง อาจจะเพราะว่าผู้คนเหล่านี้ยังไม่ได้รับอิทธิพลทางความคิด ความเชื่อและวิทยาการสมัยใหม่จากตะวันตกจึงไม่เกิดการรังเกียจศพ ถึงแม้จะมีความกลัวแฝงอยู่ การจัดการเกี่ยวกับคนตายด้วยพิธีกรรมต่าง ๆ จึงเป็นการเตรียมให้ผู้ตายเดินทางไปอยู่อีกโลกหนึ่งอย่างดีที่สุดเท่าที่ความเป็นมนุษย์จะพึงกระทำต่อผู้เป็นที่รักได้ มนุษย์ยอมรับความตายว่า คือการเปลี่ยนสภาพจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า จึงมีการเตรียมตัวสำหรับเดินทาง ด้วยความเข้าใจว่าจะได้พบกับบรรพบุรุษและผู้ที่เดินทางล่วงหน้าไปก่อน
เราเองก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเชื่อและพิธีศพที่เรามักพบเห็นในสังคมปัจจุบันที่แม้เต็มไปด้วยบรรยากาศของความเป็นระเบียบและการปฏิบัติต่อศพตามวิทยาการสมัยใหม่ที่ไม่น่ารังเกียจ แต่ก็ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเงียบเหงา วังเวง และความเป็นจริงที่ว่า ยิ่งความเจริญทางเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นเพียงไร ดูเหมือนความเป็นคุณค่าของมนุษย์นั้นก็ถูกลดลงมากขึ้นเท่านั้น
บทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อลงคอลัมภ์ "ห้วงเวลาอุษาคเนย์" ของผู้เขียนในนิตยสารรายสัปดาห์ แต่ยังไม่ทันได้ลงก็เปลี่ยนกอง บก.ฝ่ายศิลปวฒนธรรม เลยได้เลิกเขียนกันยกชุด ผู้เขียนจึงได้แต่เขียนเก็บไว้อ่านคนเดียว บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก อ.ปรานี วงษ์เทศ ที่ทำให้ผู้เขียนได้พยายามทำความเข้าใจในสังคมอุษาคเนย์ เมื่อผู้เขียนมีโอกาสได้เดินทางบ่อย ๆ โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในสังคมอุษาคเนย์ ผู้เขียนจึงมักจะสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเสมอ อย่างเช่นกรณีเรื่องพิธีศพของบาหลี ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องศพ หรือการตายของมนุษย์เท่านั้น แต่เพียงแค่พิธีกรรมที่มนุษย์จัดให้แก่ผู้ตาย กับสะท้อนภาพรวมของวิธีคิดและโครงสร้างทางสังคม ผ่านพิธีกรรมและความเชื่อของคนในสังคมเหล่านี้ ซึ่งเปรียบเสมือนแว่นขยายให้เรามองเห็นประเทศเพื่อนบ้านและสังคมใกล้ตัวเราว่ามีลักษณะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนหวังว่าบทความหรือเรื่องเล่าจากบันทึกความทรงจำของผู้เขียนที่เดินทางไปบาหลี 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ.2547 และ พ.ศ.2549 ที่มีโอกาสไปเจอพิธีศพที่บาหลีถึง 2 ครั้ง 2 ครา ซึ่งณ เวลานั้นผู้เขียนได้ทำการถ่ายรูปและวีดีโอบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากลักษณะของขบวนศพ มีความคล้ายคลึงกับขบวนพาเหรด ซึ่งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวในขณะนั้นอย่างมาก จึงได้นำความรู้ที่อาจารย์สอนมาประยุกต์ใช้กับประสบการณ์เดินทางแบบไม่ตั้งใจของผู้เขียนมาถ่ายทอดให้ผู้อ่าน ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย
No comments:
Post a Comment